วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ชุมชนเข้มแข็งอย่างยังยืน

ชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเอง ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาจิตใจ  พฤติกรรม  คุณธรรม  ความคิดทัศนคติใช้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนามีจิตใจที่ดีงาม  พัฒนาสติปัญญา อารมณ์  ที่มีระบบข้อมูลข่าวสารการเรียนรู้ของผู้ทำที่ทำงานเป็นทีม  จัดการกิจกรรมเป็นมาต่อยอดใช้ประโยชน์วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  สร้างสุขภาพของคนในชุมชน  แข็งแรงทั้งร่างกายจิตใจอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการบริหารจัดลำดับความสำคัญเพื่อการพัฒนาสอดคล้องกับปัญญาความต้องการที่เป็นจริงของชีวิต ครัวเรือนในชุมชนและสอดคล้องกับแผนพัฒนาชาติ
                ประเด็นที่เลือกในการพัฒนาชุมชนเข้มแข้งอย่างยั่นยืนคือโครงทำแผนชีวิตปลูกจิตทดแทนในครัวเรือน จุดประสงค์ในการทำโครงการนี้เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในการเข้าร่วมโครงการเริ่มจากทุกครั้งเรือนเข้าร่วมโครงการทำแผนชีวิตปลูกสิ่งทดแทนในครัวเรือนและปลูกต้นไม้ในวันเกิด
                วัตถุประสงค์เพื่อให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสุขภาวะที่ดีปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนในครัวเรือนได้เห็นจึงความสำคัญและได้ทำงานร่วมกันในครัวเรือนอย่างมีความสุขกันทุกอย่างที่ปลูกและปลูกทุกอย่างที่ดิน และปลูกต้นไม้ในอนาคตเน้นปลูกไม้ใน  4  ระดับ  ในพื้นที่เดียวมีพืชที่อยู่ใต้ดินใช้กินหัว  พืชอยู่บนดินพืชยกล้านไม้ยืนต้นเพื่อไว้ใช้ในอนาคต 10 20  ปี  ข้างหน้าถ้าเรามีความปลูกฝังตั้งแต่เด็กและเห็นคุณค่าของธรรมชาติเพื่อใช้สอยในครัวเรือนไม่ต้องไปตัดไม้ทำลายป่าเพราะป่ากำลังจะหมดไปด้วยฝีมือของคน เลยคำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ  ที่เกิดขึ้นถ้าคนในชุมชนอยากเห็นต้นไม้ใหญ่ในอนาคตต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ตอนนี้  รดน้ำพรวดดินในอนาคตคงได้เห็นต้นไม้ใหญ่แน่นอนเช่นเดียวกับเราปลูกฝังจิตสำนักที่ดีให้เกิดขึ้นในเด็กเยาวชนซึ่งเป็นคนสำคัญในอนาคตของชาติ
          และสิ่งที่สำคัญที่สุดในความเข้มแข็งของชุมชนคือ พัฒนาคนในทางร่างกายจิตใจ และมีสุขภาวะที่ดีมีความเอื้ออาทรรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาศร่วมกันทำกิจกรรมกับทุกภาคส่วนในชุมชนมีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นเน้นคุณธรรมนำความรู้เพราะถือความรู้คือหัวใจในการพัฒนาการที่ยั่งยืนได้นั้นไม่ใช่พื้นฐานอำนาจ  หรือการเงินชุมชนที่เข็มแข้.และยั่งยืนได้นั้นต้องมีการพัฒนาใช้กับภาพของชุมชนสู่การพึ่งตนเองยั่งยืนมาจากรากฐานของตนเองภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทรัพยากรทุนทางปัญญาทุนสังคมมีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการมีเครือข่ายความสัมพันธ์

50 ปีชุมชนของข้าพเจ้า

นำเสนอโดย     นางราตรี  สมหมาย
ส่งอาจารย์อิทธิเดช  วิเชียรรัตน์

            50  ปีชุมชนบ้านปากคลองหมู่ที่ 3  ต.นาไม้ไผ่  อ.ทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช
            ในชุมชนอาศัยอยู่ไม่ถึง 20 ครัวเรือน เลี้ยงหมู  เลี้ยงไก่  ปลูกผัก ไว้กินเองในครัวเรือน ทรัพยากรทางธรรมชาติหาได้ในชุมชนมีปลา  กุ้ง  หอย  ในนาข้าว  มีสัตว์ป่า   มีปลาในลำคลอง  ธรรมชาติเอื้อต่อความเป็นอยู่ในครัวเรือนชุมชนอาศัยอยู่รวมกันแบบเครือญาติมีการเคารพเชื่อฟัง  ผู้หลัก  ผู้ใหญ่   ผู้อาวุโส  การทำงานมีการลงแขกกันในฤดูทำนา  เก็บเกี่ยว   ในช่วงเดือนห้า และเดือนสิบ มีการทำขนมและนำของไปฝากหรือไปเตรียมผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ  อาศัยเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางในช่วงเทศกาลมีความอบอุ่นในการที่ได้ไปกราบไหว้  ปู่  ย่า  ตา  ยาย
            เมื่อก่อนเวลาไปเยี่ยมผู้ใหญ่ เช่น ปู่   ย่า  ตา  ยาย  ในแต่ละบ้าน  มีอาหารที่สะสมไว้ เช่น  ปลาแห้ง  เคย  ปลา  สะตอดอง  ลูกเหนียง  หมาก   ซึ่งเมื่อก่อนจะมีกินได้ตลอดปีเพราะมีการออมของคนแก่ในแต่ละบ้านมีเวียนข้าว  ถ้าคนไหนมีเรือนข้าวหลังใหญ่ บ่งบอกถึงความร่ำรวย วิธีหาปลาในสมัยก่อนชุมชนของข้าพเจ้า ใช้ไม้ไผ่สาน ซึ่งเรียกว่า .............          นำไปแช่ไว้ในลำคลองเวลาลงอาบทำยกเอาปากขึ้นลากม้วนมาเทบนบกได้ปลามาทำเป็นอาหารกินกัน   แต่เมื่อก่อนใช้วัวไถนา  แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นรถไถ่นาใช้คน  เมื่อก่อนชุมชนใช้น้ำในลำคลองแต่ปัจจุบันมีน้ำประปาใช้  มีไฟฟ้าใช้ คนในชุมชนอยู่ร่วมกับธรรมชาติ มีวัฒนธรรมชุนชน ประเพณีชุมชน
            การปกคอรงตนในชุมชนมีความเคารพในกำนัน  ผู้ใหญ่  ตามคำสั่งผู้นำ  มีอยู่ 2 ฝ่าย คอมและนาย คือเจ้าหน้าที่บ้านเมือง  การเมืองใน 50 ปี ชุมชนของข้าพเจ้ามีกลุ่มต่อต้านด้านการเมืองหรือคอมมินิตย์ในสมัยนั้นผู้คนกลัวมากว่าเจ้าหนี้สั่งมีการรวมกลุ่มประชุมกันแต่ไม่ได้บังคับผู้คนในชุมชนโดยร่วมก็ได้ไม่ร่วมก็ได้มีการแก้ปัญหาต่างๆ  มีการใช้กระสุนเป็นการตัดสินเมื่อถอนชุมชนออกข้าพเจ้ามีการฆ่ากันบางครั้ง  เผานั่งยางรถยนต์ ถึง 2 ศพ เป็นชุมชนที่เรียกว่า หัวรุนแรง  แต่ได้ต่อต้านทางราชการเข้าอยู่เฉพาะในกลุ่มของเงาใครทำไม่ถูกก็ต้องจะโดนเผาทิ้งไม่มีผู้มีอิทธิพลไม่มีการลักขโมยชุมชนอยู่แบบมี 2 ฝัง คือ นาย และ คอมฯ คือพวกทำงานเผด็จการ ไม่มีใครมาบังคับ
            เคร็งกิจ มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีมีนาทำตลอดทั้งปี  มีการปลูกผักไว้กินในครัวเรือนไม่ต้องซื้อผักในท้องตลาด  มีพริก  มะเขือ  ดีปลี  เมื่อสิ้นฤดูการก็มีการเก็บเมล็ดพืชเพื่อจะปลูกในปีต่อไปแต่ละบ้านมีการปลูกพืชผัก สมุนไพรที่หาได้ในชุมชน
            ด้านสุขภาพชุมชนใช้ยาสมุนไพรในชุมชนในการดูแลสุขภาพของชุมชนเองมีการใช้สมุนไพรไล่แมลงทำเองสามารถไล่แมลงที่กินพืช  ผัก  ผลไม้  ของชาวบ้านให้หมดไปโดยไม่มีสารเคมีเจือป่นในผัก  ผลไม้  เพื่อที่จะนำไปประกอบอาหารต่อไป  เมื่อก่อนถ้าผู้หญิงคนใดจะถึงกำหนดคลอดลูกไม่มีสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาล  ถ้าจะคลอดบุตรก็ต้องไปหาหมอตำแยและใช้ยาต้มสมุนไพรกินกันเอง  ถ้าเด็กบ้านไหนเป็นไข้ ตัวร้อนมีน้ำมูก  ให้ใช้ใบมะขาม  ส้มปอย  หัวหอม  มาต้มกับน้ำ แล้วนำมาผสมกับน้ำธรรมดาอาบตอนเช้า  จะทำให้อาการที่เป็นหวัดดีขึ้น
            50 ปี  ชุมชนของข้าพเจ้าเวลามีการประชุมหมู่บ้านใช้เกราะตีเรียกประชุมลูกบ้านให้ไปร่วมกลุ่มกันและเวลามีปัญหาในชุมชนต้องการความช่วยเหลือก็ต้องตีเกราะเรียก คนในชุมชนไปดูให้ความช่วยเหลือ  เวลามีคนฆ่ากันตายเกิดขึ้น แต่ทุกวันนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน  สรุปว่าชุมชนของข้าพเจ้าเป็นชุมชนที่อยู่ในระบบเครือญาติชุมชนอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ  อยู่ด้วยความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่และอาทรซึ่งกันและกัน ความเป็นพี่เป็นน้องชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เหมือนในชุมชนทุกวันนี้สังคมบริโภคนิยม สังคมทุนนิยม สังคมอยู่เป็นทุกข์